วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2560

นโยบายและความสัมพันธ์ของไทยกับต่างประเทศ(เวียดนาม)

"นโยบายและความสัมพันธ์ของไทยกับต่างประเทศ (เวียดนาม)"



ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับเวียดนาม 
ไทยและเวียดนามมีความสัมพันธ์กันมาช้านานแล้วตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ต่อมาเวียดนามเปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองหยุดชะงักไป และเมื่อสงครามเย็นสิ้นสุดลง เวียดนามได้เปิดประเทศและผูกมิตรกับประเทศในประชาคมโลกโดยเฉพาะอาเซียน ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับเวียดนามอาจแยกเป็นด้านต่าง ๆ ได้ดังนี้
1) ด้านการเมือง ในสมัยพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นเวลาเดียวกับที่เวียดนามได้ถอนกำลังทหารออกจากกัมพูชา รัฐบาลไทยขณะนั้นได้มีการปรับและสร้างเสริมความสัมพันธ์กับ 3 ประเทศอินโดจีน ซึ่งได้แก่ ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ซึ่งถือเป็นการเปิดประตูไปสู่ประเทศอินโดจีน ด้วยนโยบายแปรสนามรบให้เป็นตลาดการค้า นับตั้งแต่นั้นมาการไปมาหาสู่ระหว่างกัน โดยเฉพาะเวียดนามก็ได้เพิ่มขึ้น ซึ่งรัฐบาลต่อมาก็ได้สืบทอดและสานต่อนโยบายดังกล่าว ด้วยการแลกเปลี่ยนการเยือนของผู้นำทั้งสองฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเยือนในระดับสูงของพระราชวงศ์ นั่นคือ การเสร็จเยือนเวียดนามของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร อันหมายถึงความสัมพันธ์อันสูงสุดของความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ
2) ด้านเศรษฐกิจ ในด้านการค้าขายไทยและเวียดนามได้มีการลงนามในข้อตกลงทางเศรษฐกิจระหว่างกัน เช่น การตั้งคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจ พิธีสารเกี่ยวกับการแก้ไขข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ข้อตกลงเกี่ยวกับเงินกู้เพื่อการค้าด้วยดอกเบี้ย ร้อยละ 3 ข้อตกลงว่าด้วยการส่งเสริมและการคุ้มครองการลงทุน ข้อตกลงว่าด้วยการหลีกเลี่ยงภาษีซ้ำซ้อน เป็นต้น


นโยบายการค้าระหว่างประเทศ

"นโยบายการค้าระหว่างประเทศ"

นโยบายการค้าระหว่างประเทศ คือ นโยบายที่แต่ละประเทศใช้ในการนำสินค้าเข้า และส่งสินค้าออก ซึ่งอาจแบ่งออกได้เป็น นโยบายแบบเสรี และ นโยบายแบบคุ้มกัน

นโยบายการค้าแบบเสรี
เป็นนโยบายที่จะส่งเสริมให้ประเทศต่างๆ นำสินค้ามาทำการค้าขายระหว่างกันอย่าง เสรี โดยปราศจากข้อจำกัดใดๆ ประเทศที่จะถือนโยบายการค้าโดยเสรีจะต้องอยู่ในเงื่อนไข ดังนี้
1. ต้องดำเนินการผลิตตามหลักการแบ่งงาน คือ ทุกประเภทจะต้องเลือกผลิตเฉพาะที่มีประสิทธิภาพการผลิตสูง
2. ต้องไม่มีการเก็บภาษี หรือมีการเก็บภาษีแต่น้อย โดยไม่มีจุดมุ่งหมายให้เกิดความ ได้เปรียบเสียเปรียบ
3. ต้องไม่มีการให้สิทธิพิเศษและไม่มีข้อจำกัดทางการค้ากับประเทศต่าง ๆ หากถือตามเงื่อนไขนี้แล้วในปัจจุบันไม่มีประเทศใดที่จะมีนโยบายการค้าโดยเสรีได้ อย่างเป็นทางการเพราะนโยบายลักษณะนี้ประเทศที่กำลังพัฒนาจะเสียเปรียบประเทศที่พัฒนาแล้วเป็นอย่างมาก แต่บาง ประเทศมีการตกลงร่วมกันอยู่บ้าง เช่น กลุ่มสหภาพยุโรป เป็นต้น

นโยบายการค้าแบบคุ้มกัน
เป็นนโยบายที่มุ่งสนับสนุนภาพการผลิตในประเทศ มีหลักการตรงกันข้ามกับนโยบาย การค้าโดยเสรี คือรัฐบาลจะใช้เครื่องมือต่างๆ เพื่อจำกัดการนำเข้าและส่งเสริมการส่งออก
วัตถุประสงค์ของนโยบายการค้าแบบคุ้มกัน พอสรุปได้ดังนี้
1. เพื่อให้ประเทศช่วยตนเองได้เมื่อเกิดภาวะฉุกเฉิน เช่น เมื่อเกิดสงครามขึ้น อาจจะไม่ มีสินค้าที่จำเป็นบางอย่างใช้ เพราะไม่สามารถนำเข้ามาตามปกติได้ ในยามปกติจึงควรเตรียม การผลิตสินค้าที่จำเป็นสำรองไว้
2. เพื่อคุ้มครองอุตสาหกรรมภายใน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่เพิ่งเกิดใหม่ ถ้ารัฐบาล ไม่ห้ามสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาตีตลาด อุตสาหกรรมภายในจะต้องเลิกล้มกิจการ
3. เพื่อป้องกันการทุ่มตลาด การทุ่มตลาด ได้แก่ การส่งสินค้าไปขายประเทศอื่น ในราคาที่ต่ำกว่าต้นทุนเพื่อทำลายคู่แข่งขันในตลาดต่างประเทศ และเมื่อทุ่มตลาดสำเร็จได้ครองตลาดแห่งนั้นแล้วก็จะเพิ่มราคาสินค้าให้สูงขึ้นในเวลาต่อมา
4. เพื่อแก้ปัญหาการขาดดุลการค้า การขาดดุลการค้า คือ มูลค่าสินค้าที่ส่งไปขายต่างประเทศน้อยกว่ามูลค่าสินค้าที่นำเข้ามา ทำให้ต้องเสียงเงินตราต่างประเทศออกไป จำนวนมาก จึงต้องแก้ไขโดยจำกัดการนำเข้าและส่งออกให้มากขึ้น

เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินนโยบายการค้าคุ้มกัน จะมุ่งส่งเสริมการส่งสินค้าออกและกีดกันการนำสินค้าเข้า คือ
1. การตั้งกำแพงภาษี ( Tariff Wall ) จะใช้วิธีการจัดเก็บภาษีศุลกากรจากสินค้านำเข้าหลายอัตรา คือ จัดเก็บภาษีศุลกากรตั้งแต่ 2 อัตราขึ้นไปในสินค้าชนิดเดียวกัน และเลือกใช้อัตราสูงแก่สินค้าที่ต้องการจะกีดกันไม่ให้นำเข้า ซึ่งเป็นมาตรการทางอ้อม
2. การควบคุมสินค้า อาจเป็นการห้ามโดยเด็ดขาดหรือกำหนดโควต้า ( Quota ) ให้นำเข้าหรือส่งออก
3. การให้การอุดหนุน ( Subsidies ) เช่น การจ่ายเงินอุดหนุนให้แก่ผู้ผลิต ลดภาษีบางอย่างให้ เป็นต้น
4. การทุ่มตลาด ( Dumping ) คือ การส่งสินค้าออกไปขายต่างประเทศในราคาที่ต่ำกว่าราคาขายภายในประเทศ และด้วยราคาที่ต่ำกว่าต้นทุนการผลิต ซึ่งมี 3 กรณี คือ
1.) การทุ่มตลาดเฉพาะกิจ เพื่อล้างสินค้าเก่าที่ค้างสต๊อก หรือเป็นสินค้าที่ล้าสมัย หรือเป็นสินค้าที่ไม่ขายภายในประเทศ เพื่อรักษาระดับราคาสินค้านั้นในตลาดภายในไว้
2.) การทุ่มตลาดเป็นการชั่วคราว เป็นนโยบายที่จะส่งสินค้าไปขายต่างประเทศในราคาต่ำกว่าตลาดภายในประเทศเป็นการชั่วคราว และบางครั้งต้องขายต่ำกว่าทุน โดยมีเหตุผลดังนี้ คือ
- แสวงหาตลาดใหม่ในต่างประเทศ
- กำจัดคู่แข่งขันซึ่งมีประสิทธิภาพในการผลิต
- กีดกันไม่ให้คู่แข่งขันเข้ามาแย่งตลาดที่ครองอยู่
- ตอบแทนการกระทำของผู้อื่น
3.) การทุ่มตลาดเป็นการถาวร เป็นการทุ่มตลาดระยะยาว ซึ่งปกติจะไม่ทุ่มขายในราคาที่ต่ำกว่าต้นทุนการผลิต และที่สามารถดำเนินการทุ่มตลาดได้เนื่องจากการผลิตภายในประเทศขยายตัวสูงขึ้น และรัฐบาลให้เงินอุดหนุน โดยทั่วไปการส่งสินค้าไปทุ่มตลาดต่างประเทศมักกระทำเป็นการชั่วคราวเพื่อจำกัดคู่แข่ง และเมื่อสามารถผูกขาดตลาดได้แล้ว ก็จะขึ้นราคาสินค้าเพื่อชดเชยภายหลัง
5. ข้อตกลงทางการค้า นับเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการดำเนินนโยบายการค้าคุ้มกัน เพื่อให้สิทธิหรือฐานะทางการค้าเป็นพิเศษแก่ประเทศคู่สัญญา
6. การควบคุมเงินตราต่างประเทศ ธนาคารกลางจะควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ รวมทั้งอุปสงค์และอุปทานของเงิน เพื่อสกัดกั้นการไหลออกของเงิน และพยายามดูดเงินตราต่างประเทศเข้ามาให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
** ปัจจุบันการค้าระหว่างประเทศของไทยก็ใช้นโยบายการค้าคุ้มกันเช่นเดียวกับประเทศต่าง ๆ แต่ก็ส่งเสริมให้เอกชนทำการค้าเสรี และไม่สนับสนุนให้มีการค้าโดยรัฐมากเกินไป ซึ่งนโยบายการค้าต่างประเทศของไทยพอสรุปได้ดังนี้
1. ถือระบบการค้าเอกชน
2. ถือระบบภาษีศุลกากรอัตราเดียว
3. มีข้อจำกัดทางการค้าอย่างแผ่วเบา

องค์การทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

"องค์การทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ"




องค์การทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ หมายถึง องค์การที่มีบทบาทและอิทธิพลในการกำหนดนโยบายทางด้านเศรษฐกิจของสังคมโลก  ซึ่งองค์การเหล่านี้จะทำหน้าที่ดูแลให้ประเทศสมาชิกปฏิบัตตามกติกาของสังคมโลก    อีกทั้งผลักดันให้ดำเนินนโยบายเศรษฐกิจเสรีนิยม  และมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการให้เหมาะสมขณะเดียวกันส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีบทบาททางเศรษฐกิจ   ตลอดทั้งมีการถ่ายโอนการผลิตไปสู่เอกชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งส่งเสริมให้ชาวต่างชาติเข้ามาลงทุนในแต่ละประเทศเพื่อให้ระบบทุนนิยมโลกขยายตัวและเป็นองค์การที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางทางการเงิน  ตลอดจนอำนวยความสะดวกทางด้านการเงินระหว่างประเทศ 




 องค์กรและความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
    สืบเนื่องจากการทำ การค้าของโลกมักจะมีปัญหายุ่งยากตามมาหลายประการ เมื่อแต่ละประเทศมุ่งแต่จะให้ปะเทศของตนรับประโยชน์จากการค้าระหว่างประเทศให้มากที่สุด บางประเทศจะสร้างเงื่อนไขต่าง ๆเพื่อกีดดันการนำ เข้าสินค้าจากต่างประเทศ เมื่อเป็นเช่นนี้ ใน พ.ศ.2491 เป็นต้นมา ประเทศส่วนใหญ่เห็นว่า ระบบการค้าควรจะมีการสร้างกฎเกณฑ์ โดยกฎเกณฑ์สากลการค้าอย่างแรกที่มีประเทศยอมรับมากที่สุดคือ ความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรการค้า (General Agreement on Tariff and Trade : GATT) หรือเรียกย่อ ๆ ว่า ความตกลงแกตต์ ซึ่งมีผลบังคับตั้งแต่ พ.ศ. 2491 จนถึงพ.ศ. 2537 และต่อมาพัฒนามาเป็นความตกลงระหว่างประเทศที่มีอยู่ภายใต้การบริหารขององค์การการค้าโลก ซึ่งมีผลตั้งแต่ พ.ศ. 2538 จนถึงปัจจุบัน สำ หรับในที่นี้จะกล่าวถึงแต่เฉพาะองค์การการค้าโลกนอกจากนี้จะกล่าวถึงกลุ่มการค้าที่มีการรวมกลุ่มกัน และเป็นกลุ่มการค้าที่มีความสำ คัญต่อเศรษฐกิจไทย อันได้แก่ สหภาพยุโรป อาเซียน และเอเปค
 องค์การค้าโลก (World Trade Organization : WTO)
    เป็นองค์การระหว่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในเรื่องความตกลงด้าน
การค้าและบริการ และความตกลงทางด้านการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า ความตกลงต่าง ๆขององค์การค้าโลก คือ กฎหมายที่ประเทศสมาชิกต้องปฏิบัติตาม ถ้า้ประเทศใดละเมิดผู้แทนของประเทศผู้เสียหายสามารถนำมาฟ้องร้องต่อที่ประชุมได้
              องค์การค้าโลกมีกลไกลการทำ งานและหน้าที่หลัก ดังนี้
 1) การบริหารจัดการให้ประเทศสมาชิกปฏิบัติตามบทบัญญัติของความตกลงต่าง ๆ กลไกส่วนนี้คือ เปิดโอกาสให้ประเทศสมาชิกมีเวทีตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ตามบทบัญญัติของความตกลงแต่ละฉบับของแระเทศสมาชิกอื่น ไม่ว่าประเทศนั้นจะเป็นประเทศเล็กหรือใหญ่ก็ตาม
2) กระบวนการยุติข้อพิพาททางการค้าระหว่างประเทศสมาชิก เมื่อประเทศสมาชิกเห็นว่าประเทศอื่นใช้มาตรการการค้าที่ขัดกับความตกลง และทำ ให้การค้าของตนเสียหาย และประจักษ์ว่า เวทีการตรวจสอบไม่มีแรงกดดันพอที่จะทำ ให้ประเทศต้นเหตุปรับมาตรการการค้าให้ถูกต้อง ก็สามารถใช้กระบวนการยุติธรรมยุติข้อพิพาท
3) การทบทวนนโยบายการค้าของประเทศสมาชิก เป็นกลไกการตรวจสอบการ
ปฏิบัติงานของประเทศสมาชิกตามความตกลง ซึ่งก็คือ กลไกทบทวนนโยบายการค้า (Trade PolicyReview Mechanism) องค์การการค้าโลกจะกำ หนดให้มีการทบทวนนโยบายของประเทศสมาชิกแต่ละประเทศล่วงหน้าโดยระบบหมุนเวียน
 4) การจัดเวทีเพื่อให้มีการเจรจาเปิดเสรีการค้า การที่จะทำ ให้ทุกประเทศใช้
นโยบายการค้าที่เปิดตลาดอย่างสมบูรณ์อย่างทันทีย่อมเป็นไปไม่ได้ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการเจรจาและยกเลิกมาตรการการจำกัดการค้าเป็นระยะ ๆ
สหภาพยุโรป (European Union)
    สหภาพยุโรปก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2495 โดยมีประเทศที่ก่อตั้งรวม 6 ประเทศ คือ
เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ ลักแซมเบอร์ก เยอรมันตะวันตก อิตาลี และฝรั่งเศส ร่วมกันจัดตั้งประชาคมถ่านหินและยุโรป (European Coal and Steel Community) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการผลิตและการจำ หน่ายถ่านหิน โดยยกเลิกภาษีศุลกากรและวิธีการเกี่ยวกับการขนส่งถ่านหินผ่านด่าน ต่อมาในปี พ.ศ. 2500 ได้จัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (European Economic Community: ECC) โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ 3 ประการคือ (1) การจัดตั้งตลาดร่วม (common market) เพื่อให้สินค้าธุรกิจบริการเงินทุนและแรงงาน สามารถเคลื่อนย้ายโดยเสรีระหว่างประเทศสมาชิก
(2) การกำหนดและยกเลิกภาษีศุลกากรและโควตาระหว่างประเทศสมาชิก และกำหนดให้ใช้พิกัดอัตราภาษีร่วม (common tariff) สำหรับประเทศที่มิใช่ประเทศสมาชิก (3) การกำ หนดนโยบายร่วมกัน(common policies) เรื่องการคลัง การเงิน อัตราแลกเปลี่ยน การเกษตร แรงงานสัมพันธ์โดยมีหน่วยงานสำคัญ คือ สภารัฐมนตรี คณะกรรมาธิการตลาดร่วม สภาเศรษฐกิจและสังคม และศาลสถิตยุติธรรม
   หลังจากการรวบรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของสหภาพยุโรปได้ผ่านขั้นตอนต่าง ๆ
ตามลำ ดับตั้งแต่เขตการค้าเสรี สหภาพศุลกากร ตลาดร่วมหรือประชาคมเศรษฐกิจ จนในที่สุดเป็นสหภาพยุโรปนั้น มีอุปสรรคเกิดขึ้นมากมาย แต่อย่างไรก็ตาม จากความตั้งใจอันแน่วแน่ของประเทศสมาชิก ทำให้แก้ไขอุปสรรคต่าง ๆ จนสำเร็จลุล่วงได้ จนกระทั่งมีการเปลี่ยนสถานภาพจากประชาคมยุโรปมาเป็นประชาคมยุโรปตามข้อตกลงมาสทิกซ์ (Maastricht) ลงนามใน พ.ศ. 2534 0และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่พฤศจิกายน พ.ศ. 2537 สำหรับประเทศสมาชิกในปัจจุบันมี 15 ประเทศ เป็นสมาชิกก่อตั้งดั้งเดิม 6 ประเทศ และเป็นสมาชิกที่เพิ่มเติมอีก 9 ประเทศ คือ สหราชอาณาจักรไอร์แลนด์ เดนมาร์ค เข้าร่วมในพ.ศ. 2516 กรีซเข้าร่วมใน พ.ศ. 2529 สเปนและโปรตุเกสเข้าร่วมใน พ.ศ. 2529 และออสเตรีย ฟินแลนด์ และสวีเดนเข้าร่วมใน พ.ศ. 2535 นอกจากนี้ยังได้ตั้งเป้าหมายที่จะขยายประเทศสมาชิกให้ครอบคลุมถึงก่อนกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก 6 ประเทศในราว พ.ศ. 2548 อันได้แก่ โปแลนด์ ฮังการี สาธารณรัฐเชค สโลวาเนีย เอสโทเนีย และไซปรัส รวมทั้งยุโรปเหนือและยุโรปกลางในช่วงต่อไป
     สหภาพยุโรปประกอบด้วย 3 สหภาพเศรษฐกิจยุโรป (European Economic
Union : EEU) สหภาพยุโรปการเงิน (European Monetary Union : EMU)
และสหภาพการเมืองยุโรป (European Political Union : EPU)ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2543 สมาชิกสหภาพยุโรป 11 ใน 15 ประเทศได้ตกลงใช้เงินตราสกุลเดียวกันคือ ECU โดยมีธนาคารกลางแห่งยุโรปดูแลรับผิดชอบบริหารนโยบายการเงินและECU จะเป็นหน่วยนับในบัญชีทุนสำ รองระหว่างประเทศ และเป็นหน่วยอ้างอิงในตลาดเงินซึ่งประเทศสมาชิกจะใช้ควบคู่กับเงินตราสกุลเดิม และค่อย ๆ ถอนเงินตราสกุลเดิมออกจากระบบ
 เอเปค (Asia – Pacific Economic Cooperation : APEC)
    เอเปคเป็นการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิก มีสมาชิกก่อตั้ง 12
เขตเศรษฐกิจ คือ มาเลเซีย สิงค์โปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย บรูไน แคนาดา สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ต่อมาใน พ.ศ. 2534 จีน ฮ่องกง และไต้หวัน เข้าร่วมเป็นสมาชิก ใน พ.ศ. 2536 เม็กซิโก และปาปัวนิวกินี เข้าร่วมเป็นสมาชิก ใน พ.ศ. 2537 ซิลี เข้าร่วมเป็นสมาชิก และใน พ.ศ. 2541 เวียตนาม รัสเซีย และเปรูเข้าร่วมเป็นสมาชิก
หลักการและปรัชญาพื้นฐานของเอเปค ประกอบด้วย
1) หลักฉันทามติ (Consensus) เป็นหลักที่สมาชิกจะใช้เจรจาเพื่อหาข้อยุติที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดความเห็นพ้องร่วมกัน จะไม่ใช้หลักเสียงข้างมาก
 2) หลักความสมัครใจ (Voluntarism) ประเทศสมาชิกสามารถเลือกที่จะเข้าร่วมแผนงานต่าง ๆ ของเอเปคด้วยความสมัครใจ ไม่เป็นการบังคับ
 3) ไม่มีข้อตกลงที่มีลักษณะบังคับ และไม่มีบทลงโทษ
 4) หลักการไม่เลือกปฏิบัติ (Nondiscrimination) สมาชิกเอเปคจะไม่เลือกปฏิบัติต่อชาติที่ไม่ใช่สมาชิกเอเปค
5) หลักความสอดคล้องกับองค์การการค้าโลก (WTO - Consistency) คือ การเปิดการค้าเสรีโดยไม่ขัดกับองค์การค้าโลก
 6) ความเชื่อมั่นในระบบการค้าเสรีและหลักกลไกตลาด
 7) หลักผลประโยชน์ร่วมกัน สมาชิกจะช่วยเหลือซึ่งกันและกันในหลาย ๆ ด้าน เช่น ด้านการเงิน ด้านวิชาการ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นต้น
 เขตการค้าเสรีอาเซียน (Asean Free Trade Area : AFTA)
    เขตการค้าเสรีอาเซียนจัดตั้งขึ้นโดยสมาชิกของสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (The Association of South – east Asian Nations : ASEAN) ได้แก่ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงค์โปร์ และบรูไน และกลุ่มประเทศสมาชิกใหม่ คือ เวียตนาม ลาว พม่า และกัมพูชา ได้เริ่มดำ เนินงานมน พ.ศ. 2536 โดยมีความตกลง 2 ฉบับ มีสาระสังเขปดังนี้
1) ความตกลงแม่บทว่าด้วยการขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียนใช้
เป็นกรอบการดำ เนินการเกี่ยวกับความร่วมมือทางเศรษฐกิจต่าง ๆ
2) ความตกลงว่าด้วยอัตราภาษีที่เท่ากันสำ หรับเขตการค้าเสรีอาเซียนโดยมี
หลักการสำ คัญให้ประเทศสมาชิกลดอัตราภาษีศุลกากรลงตามลับ จนเหลือประมาณร้อยละ 0 – 5 ภายใน 10 ปี

นโยบายต่างประเทศของไทยกับ ปัญหาข้ามชาติ

"นโยบายต่างประเทศของไทยกับ ปัญหาข้ามชาติ"


ประเทศต่างๆได้หันมาให้ความสนใจกับประเด็นที่เป็นปัญหาข้ามชาติที่ไม่ใช่เป็นเรื่องของประเทศใดเพียงประเทศหนึ่ง และไม่ใช่เรื่องที่ประเทศเพียงประเทศเดียวจะสามารถแก้ไขได้  แต่เป็นเรื่องที่ทุกประเทศต้องร่วมมือกันแก้ไขประเด็นปัญหาเหล่านี้   มีอาทิ   การแพร่ระบาดของยาเสพติด    ปัญหาผู้ก่อการร้าย   ปัญหาโรคเอดส์    ปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า          การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม   และปัญหาแรงงานข้ามชาติ    ซึ่งปัญหาเหล่านี้มิได้มีแหล่งกำเนิดจากประกาศใดประเทศหนึ่ง ส่วนใหญ่เป็นการกระทำของขบวนการข้ามชาติ ซึ่งการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างประเทศต่างๆ
1.เร่งส่งเสริมและพัฒนาความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านโดยส่งเสริมความร่วมมือทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาชน และสื่อมวลชน เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจอันดีและความใกล้ชิดระหว่างกัน อันจะนำไปสู่การขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้า การลงทุนการส่งเสริมการท่องเที่ยว การขยายการคมนาคมขนส่ง และความร่วมมือด้านอื่นๆภายใต้กรอบความร่วมมืออนุภูมิภาคเพื่อส่งเสริมความเป็นเพื่อนบ้านที่ดีต่อ กัน
2. สร้างความสามัคคีและส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศอาเซียน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการจัดตั้งประชาคมอาเซียนและส่งเสริมความร่วมมือกับ ประเทศอื่นๆ ในเอเซียภายใต้กรอบความร่วมมือด้านต่างๆ และเตรียมความพร้อมของทุกภาคส่วนในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ.2558 ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และความมั่นคง

3.เสริมสร้างบทบาทที่สร้างสรรค์และส่งเสริมผลประโยชน์ของชาติในองค์การระหว่างประเทศ โดยเฉพาะเวทีสหประชาชาติและองค์กรระดับภูมิภาคต่างๆ เพื่อรักษาสันติภาพและความมั่นคง ส่งเสริมกระบานการประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน มนุษยธรรม สิ่งแวดล้อม และการพัฒนาที่ยั่งยืน ตลอดจนร่วมมือในการแก้ไขประเด็นปัญหาข้ามชาติทุกด้านที่ส่งผลกระทบต่อความ มั่นคงของมนุษย์
4.กระชับความร่วมมือและความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์กับประเทศ กลุ่มประเทศ และองค์การระหว่างประเทศที่มีบทบาทสำคัญของโลก เพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นในประเทศไทยพร้อมกับการสร้างภูมิคุ้มกันและขีดความสามารถในการแข่งขันให้เศรษฐกิจไทย
5.สนับสนุนการเข้าถึงในระดับประชาชนของนานาประเทศพร้อมทั้งส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีและความร่วมมือทางวิชาการกับประเทศกำลังพัฒนา เพื่อให้ประชาชน รัฐบาล และประชาคมระหว่างประเทศ มีทัศนคติในทางบวกต่อประชาชนและประเทศไทย
6.ส่งเสริมการรับรู้และความเข้าใจของประชาชนเกี่ยวกับปัญหาเรื่องพรมแดนและการเปลี่ยนแปลงในโลกที่มีผลกระบต่อประเทศไทย เพื่อก่อให้เกิดฉันทามติในการกำหนดนโยบายและดำเนินนโยบายต่างประเทศ
7. สนับสนุนการทูตเพื่อประชาชน คุ้มครองผลประโยชน์ของคนไทย ดูแลคนไทยและแรงงานไทยในต่างประเทศ โดยเฉพาะคนไทยที่ประกอบอาชีพละมีถิ่นฐานในต่างประเทศ ส่งเสริมบทบาทและความแข็งแกร่งของชุมชนชาวไทยในการรักษาเอกลักษณ์และความ เป็นไทย
8.ใช้ประโยชน์จากโครงข่ายคมนาคมขนส่งในภูมิภาคอาเซียนและอนุภูมิภาค ให้เป็นประโยชน์ต่อการขยายฐานเศรษฐกิจทั้งการผลิตและการลงทุน โดยให้ความสำคัญในการพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดที่อยู่ตามแนวระเบียง
9.ประสานการดำเนินงานของส่วนราชการในต่างประเทศตามแนวทางนโยบายทีมประเทศไทยเพื่อให้การดำเนินงานด้านการต่างประเทศมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และมีคุณภาพ

10.ส่งเสริมความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับประเทศมุสลิมและองค์กรอิสลามระหว่างประเทศ เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องว่าประเทศไทยกำลังดำเนินการแก้ไขปัญหา จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย ในฐานะปัญหาภายในประเทศที่มีความสำคัญด้วยหลักการตามแนวพระราชทาน "เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา

นโยบายต่างประเทศของไทยยุคปัจจุบัน

< นโยบายต่างประเทศของไทยยุคปัจจุบัน >

รัฐบาลประยุทธ์ได้ใช้ยุทธศาสตร์ทางการทูตในการสร้างตัวเลือกทางนโยบายใหม่ๆ ที่ไม่จำเป็นต้องขึ้นอยู่กับสหรัฐหรือสหภาพยุโรปแต่เพียงอย่างเดียว ในบรรดาตัวเลือกใหม่นี้ จีนมีความสำคัญมากที่สุด ทั้งในแง่การเป็นเพื่อนบ้านใกล้ชิดและการก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจใหม่ในภูมิภาค (Rise of China) ยังไม่รวมถึงการที่จีนได้เข้ามามีปฏิสัมพันธ์ทางด้านธุรกิจของไทยเพิ่มมากขึ้นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา จึงไม่แปลกใจที่ พล.อ.ประยุทธ์ต้องการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับจีน เพื่อเป็นการลดแรงกดดันจากโลกตะวันตก นับจากรัฐประหารไม่นาน พล.อ.ประยุทธ์ได้พบปะกับนักธุรกิจจีน ได้ส่ง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เดินทางไปสานสัมพันธ์กับจีน หรือแม้แต่ พล.อ.ประยุทธ์เองที่ได้มีโอกาสหารือกับผู้นำระดับสูงของจีน จนนำไปสู่ข้อตกลงความร่วมมือในการสร้างรถไฟความเร็วสูงในไทย

นอกไปจากจีนแล้ว ไทยยังต้องการเล่นไพ่อาเซียน โดยการต้อนรับและไปเยือนแขกสำคัญจากประเทศอาเซียน ทั้งจากพม่าและกัมพูชา ขณะที่ พล.อ.ประยุทธ์ก็ได้เดินทางไปเยือนทั้งสองประเทศแล้วเช่นกัน ในกรณีของพม่านั้น ปัจจุบันพม่าเป็นประธานของอาเซียน และพม่าเองก็กำลังอยู่ในกระบวนการเปิดประเทศและปฏิรูปการเมือง เพื่อที่จะนำไปสู่การสร้างประชาธิปไตย พล.อ.ประยุทธ์มองเห็นความสำคัญนี้ ในการเอาไทยเข้าไปอยู่ใน spotlight ของพม่า ที่กำลังได้รับการจับจ้องจากประชาคมโลก เพื่อต้องการสื่อสารว่าไทยกำลังเดินอยู่ในกระบวนการเดียวกับพม่าเช่นกัน ซึ่งเป็นกระบวนการที่ทหารออกมานำการสร้างประชาธิปไตย

แต่กลยุทธ์นี้อาจไม่ส่งผลดีต่อไทยนักเพราะในช่วงปีที่ผ่านมาพม่าก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากเรื่องความล่าช้าในการปฏิรูปและความไม่จริงใจของกองทัพพม่าในการเปิดให้มีการพัฒนาประชาธิปไตยอย่างเสรี


ในส่วนการเยือนกัมพูชานั้นก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน ถือว่าเป็นเกมที่มีความสำคัญต่อประยุทธ์และต่อนายกรัฐมนตรีฮุนเซนของกัมพูชาเช่นเดียวกัน ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในอดีตนั้น ตั้งแต่เรื่องปราสาทเขาพระวิหารและปัญหาพรมแดนทางบกและทะเล รวมไปถึงความหวาดระแวงของไทยต่อรัฐบาลกัมพูชาในการโอบอุ้มคนเสื้อแดง ปัจจัยเหล่านี้ได้สร้างโอกาสให้ประยุทธ์ในการลดความระแวงที่มีอยู่ (แม้จะชั่วคราวก็ตาม) โดยการเสนอให้มีการปรับความสัมพันธ์ ซึ่งจะส่งผลดีต่อความมั่นคงตามแนวชายแดน รัฐบาลประยุทธ์ไม่สามารถที่จะสร้างสงครามกับกัมพูชาในช่วงที่ความขัดแย้งทางการเมืองยังคงอยู่ ทางด้านกัมพูชานั้น ฐานเสียงที่สั่นคลอนของฮุนเซนอาจเป็นเหตุผลหลักของการปรับความสัมพันธ์กับไทย เช่นเดียวกันคือการสร้างความมั่นคงตามแนวชายแดน ทั้งนี้ ฮุนเซนจำเป็นต้องปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อมทางการเมืองใหม่ของไทยด้วย แม้หลายคนจะเชื่อมั่นว่า กัมพูชาสามารถที่จะพลิกนโยบายที่มีกับไทยได้ทุกเวลา หากว่าการพลิกผันนั้นจะสามารถสร้างผลประโยชน์กับรัฐบาลฮุนเซนได้

แต่นโยบายเหล่านี้คือจุดยืนของรัฐบาลประยุทธ์ในการค้นหาความชอบธรรมของระบอบทหารในระดับภูมิภาค เพื่อคานสมดุลกับการคว่ำบาตรของตะวันตก ความชอบธรรมนั้นมีความสำคัญอย่างมาก เพราะการคว่ำบาตรจากตะวันตกอาจส่งผลต่อเศรษฐกิจของไทย ซึ่งมีความเกี่ยวโยงกับเศรษฐกิจของโลก ในฐานะที่ไทยเป็นฐานการผลิตสินค้าที่สำคัญๆ อาทิ ข้าว รถยนต์และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ การลงโทษของตะวันตกอาจส่งผลต่อเศรษฐกิจไทย ชาวไทยจำนวนหนึ่งอาจได้รับผลกระทบนี้ ซึ่งจะนำไปสู่ความไม่พอใจที่เพิ่มมากขึ้นต่อ คสช.และอาจนำไปสู่วิกฤตความชอบธรรมได้ ดังนั้น การคว่ำบาตรจากนานาชาติจึงมีความเกี่ยวโยงโดยตรงกับระดับความพอใจ (หรือไม่) ของประชาชนต่อรัฐบาลประยุทธ์ ยุทธวิธีหนึ่งที่ต้องการลดความเสี่ยงนี้ก็คือ การโอนเอียงไปหาจีนและการปรับความสำคัญกับประเทศเพื่อนบ้าน แต่นโยบายเหล่านี้จะยั่งยืนหรือไม่คงต้องรอดูต่อไป ตะวันตกอาจไม่ยกระดับการคว่ำบาตร เพราะประเทศอย่างสหรัฐก็กังวลใจเช่นกันว่า การเหินห่างจากไทยจะเป็นการทำให้จีนเข้ามาเพิ่มอิทธิพลในไทยและในภูมิภาคมากขึ้น ตัวแปรจึงน่าจะอยู่ที่ตัวแสดงในภูมิภาคนี้เอง แม้จีนจะต้องการให้ความร่วมมือกับ คสช. แต่จีนก็ยังมีความสัมพันธ์ที่ดีกับตระกูลชินวัตร ดังเห็นได้จากการต้อนรับที่อบอุ่นเมื่อคราวที่ทักษิณและยิ่งลักษณ์ไปเยือนจีน ส่วนประเทศในอาเซียนนั้น แม้จะมีนโยบายการไม่แทรกแซงกิจการภายในกัน แต่ปีหน้า 2558 เป็นปีที่อาเซียนต้องการสร้างชุมชนที่ประสบความสำเร็จ การเพิกเฉยต่อวิกฤตการเมืองในไทยอาจไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ในระดับหนึ่ง 

**ทางออกของไทยต่อสถานการณ์เหล่านี้จึงน่าจะอยู่ที่การกลับคืนไปสู่ระบอบประชาธิปไตยได้เร็วมากน้อยเพียงใด**