วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2560

นโยบายการค้าระหว่างประเทศ

"นโยบายการค้าระหว่างประเทศ"

นโยบายการค้าระหว่างประเทศ คือ นโยบายที่แต่ละประเทศใช้ในการนำสินค้าเข้า และส่งสินค้าออก ซึ่งอาจแบ่งออกได้เป็น นโยบายแบบเสรี และ นโยบายแบบคุ้มกัน

นโยบายการค้าแบบเสรี
เป็นนโยบายที่จะส่งเสริมให้ประเทศต่างๆ นำสินค้ามาทำการค้าขายระหว่างกันอย่าง เสรี โดยปราศจากข้อจำกัดใดๆ ประเทศที่จะถือนโยบายการค้าโดยเสรีจะต้องอยู่ในเงื่อนไข ดังนี้
1. ต้องดำเนินการผลิตตามหลักการแบ่งงาน คือ ทุกประเภทจะต้องเลือกผลิตเฉพาะที่มีประสิทธิภาพการผลิตสูง
2. ต้องไม่มีการเก็บภาษี หรือมีการเก็บภาษีแต่น้อย โดยไม่มีจุดมุ่งหมายให้เกิดความ ได้เปรียบเสียเปรียบ
3. ต้องไม่มีการให้สิทธิพิเศษและไม่มีข้อจำกัดทางการค้ากับประเทศต่าง ๆ หากถือตามเงื่อนไขนี้แล้วในปัจจุบันไม่มีประเทศใดที่จะมีนโยบายการค้าโดยเสรีได้ อย่างเป็นทางการเพราะนโยบายลักษณะนี้ประเทศที่กำลังพัฒนาจะเสียเปรียบประเทศที่พัฒนาแล้วเป็นอย่างมาก แต่บาง ประเทศมีการตกลงร่วมกันอยู่บ้าง เช่น กลุ่มสหภาพยุโรป เป็นต้น

นโยบายการค้าแบบคุ้มกัน
เป็นนโยบายที่มุ่งสนับสนุนภาพการผลิตในประเทศ มีหลักการตรงกันข้ามกับนโยบาย การค้าโดยเสรี คือรัฐบาลจะใช้เครื่องมือต่างๆ เพื่อจำกัดการนำเข้าและส่งเสริมการส่งออก
วัตถุประสงค์ของนโยบายการค้าแบบคุ้มกัน พอสรุปได้ดังนี้
1. เพื่อให้ประเทศช่วยตนเองได้เมื่อเกิดภาวะฉุกเฉิน เช่น เมื่อเกิดสงครามขึ้น อาจจะไม่ มีสินค้าที่จำเป็นบางอย่างใช้ เพราะไม่สามารถนำเข้ามาตามปกติได้ ในยามปกติจึงควรเตรียม การผลิตสินค้าที่จำเป็นสำรองไว้
2. เพื่อคุ้มครองอุตสาหกรรมภายใน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่เพิ่งเกิดใหม่ ถ้ารัฐบาล ไม่ห้ามสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาตีตลาด อุตสาหกรรมภายในจะต้องเลิกล้มกิจการ
3. เพื่อป้องกันการทุ่มตลาด การทุ่มตลาด ได้แก่ การส่งสินค้าไปขายประเทศอื่น ในราคาที่ต่ำกว่าต้นทุนเพื่อทำลายคู่แข่งขันในตลาดต่างประเทศ และเมื่อทุ่มตลาดสำเร็จได้ครองตลาดแห่งนั้นแล้วก็จะเพิ่มราคาสินค้าให้สูงขึ้นในเวลาต่อมา
4. เพื่อแก้ปัญหาการขาดดุลการค้า การขาดดุลการค้า คือ มูลค่าสินค้าที่ส่งไปขายต่างประเทศน้อยกว่ามูลค่าสินค้าที่นำเข้ามา ทำให้ต้องเสียงเงินตราต่างประเทศออกไป จำนวนมาก จึงต้องแก้ไขโดยจำกัดการนำเข้าและส่งออกให้มากขึ้น

เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินนโยบายการค้าคุ้มกัน จะมุ่งส่งเสริมการส่งสินค้าออกและกีดกันการนำสินค้าเข้า คือ
1. การตั้งกำแพงภาษี ( Tariff Wall ) จะใช้วิธีการจัดเก็บภาษีศุลกากรจากสินค้านำเข้าหลายอัตรา คือ จัดเก็บภาษีศุลกากรตั้งแต่ 2 อัตราขึ้นไปในสินค้าชนิดเดียวกัน และเลือกใช้อัตราสูงแก่สินค้าที่ต้องการจะกีดกันไม่ให้นำเข้า ซึ่งเป็นมาตรการทางอ้อม
2. การควบคุมสินค้า อาจเป็นการห้ามโดยเด็ดขาดหรือกำหนดโควต้า ( Quota ) ให้นำเข้าหรือส่งออก
3. การให้การอุดหนุน ( Subsidies ) เช่น การจ่ายเงินอุดหนุนให้แก่ผู้ผลิต ลดภาษีบางอย่างให้ เป็นต้น
4. การทุ่มตลาด ( Dumping ) คือ การส่งสินค้าออกไปขายต่างประเทศในราคาที่ต่ำกว่าราคาขายภายในประเทศ และด้วยราคาที่ต่ำกว่าต้นทุนการผลิต ซึ่งมี 3 กรณี คือ
1.) การทุ่มตลาดเฉพาะกิจ เพื่อล้างสินค้าเก่าที่ค้างสต๊อก หรือเป็นสินค้าที่ล้าสมัย หรือเป็นสินค้าที่ไม่ขายภายในประเทศ เพื่อรักษาระดับราคาสินค้านั้นในตลาดภายในไว้
2.) การทุ่มตลาดเป็นการชั่วคราว เป็นนโยบายที่จะส่งสินค้าไปขายต่างประเทศในราคาต่ำกว่าตลาดภายในประเทศเป็นการชั่วคราว และบางครั้งต้องขายต่ำกว่าทุน โดยมีเหตุผลดังนี้ คือ
- แสวงหาตลาดใหม่ในต่างประเทศ
- กำจัดคู่แข่งขันซึ่งมีประสิทธิภาพในการผลิต
- กีดกันไม่ให้คู่แข่งขันเข้ามาแย่งตลาดที่ครองอยู่
- ตอบแทนการกระทำของผู้อื่น
3.) การทุ่มตลาดเป็นการถาวร เป็นการทุ่มตลาดระยะยาว ซึ่งปกติจะไม่ทุ่มขายในราคาที่ต่ำกว่าต้นทุนการผลิต และที่สามารถดำเนินการทุ่มตลาดได้เนื่องจากการผลิตภายในประเทศขยายตัวสูงขึ้น และรัฐบาลให้เงินอุดหนุน โดยทั่วไปการส่งสินค้าไปทุ่มตลาดต่างประเทศมักกระทำเป็นการชั่วคราวเพื่อจำกัดคู่แข่ง และเมื่อสามารถผูกขาดตลาดได้แล้ว ก็จะขึ้นราคาสินค้าเพื่อชดเชยภายหลัง
5. ข้อตกลงทางการค้า นับเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการดำเนินนโยบายการค้าคุ้มกัน เพื่อให้สิทธิหรือฐานะทางการค้าเป็นพิเศษแก่ประเทศคู่สัญญา
6. การควบคุมเงินตราต่างประเทศ ธนาคารกลางจะควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ รวมทั้งอุปสงค์และอุปทานของเงิน เพื่อสกัดกั้นการไหลออกของเงิน และพยายามดูดเงินตราต่างประเทศเข้ามาให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
** ปัจจุบันการค้าระหว่างประเทศของไทยก็ใช้นโยบายการค้าคุ้มกันเช่นเดียวกับประเทศต่าง ๆ แต่ก็ส่งเสริมให้เอกชนทำการค้าเสรี และไม่สนับสนุนให้มีการค้าโดยรัฐมากเกินไป ซึ่งนโยบายการค้าต่างประเทศของไทยพอสรุปได้ดังนี้
1. ถือระบบการค้าเอกชน
2. ถือระบบภาษีศุลกากรอัตราเดียว
3. มีข้อจำกัดทางการค้าอย่างแผ่วเบา

2 ความคิดเห็น: