"นโยบายและความสัมพันธ์ของไทยกับต่างประเทศ (เวียดนาม)"
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับเวียดนาม
ไทยและเวียดนามมีความสัมพันธ์กันมาช้านานแล้วตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ต่อมาเวียดนามเปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองหยุดชะงักไป และเมื่อสงครามเย็นสิ้นสุดลง เวียดนามได้เปิดประเทศและผูกมิตรกับประเทศในประชาคมโลกโดยเฉพาะอาเซียน ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับเวียดนามอาจแยกเป็นด้านต่าง ๆ ได้ดังนี้
1) ด้านการเมือง ในสมัยพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นเวลาเดียวกับที่เวียดนามได้ถอนกำลังทหารออกจากกัมพูชา รัฐบาลไทยขณะนั้นได้มีการปรับและสร้างเสริมความสัมพันธ์กับ 3 ประเทศอินโดจีน ซึ่งได้แก่ ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ซึ่งถือเป็นการเปิดประตูไปสู่ประเทศอินโดจีน ด้วยนโยบายแปรสนามรบให้เป็นตลาดการค้า นับตั้งแต่นั้นมาการไปมาหาสู่ระหว่างกัน โดยเฉพาะเวียดนามก็ได้เพิ่มขึ้น ซึ่งรัฐบาลต่อมาก็ได้สืบทอดและสานต่อนโยบายดังกล่าว ด้วยการแลกเปลี่ยนการเยือนของผู้นำทั้งสองฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเยือนในระดับสูงของพระราชวงศ์ นั่นคือ การเสร็จเยือนเวียดนามของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร อันหมายถึงความสัมพันธ์อันสูงสุดของความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ
2) ด้านเศรษฐกิจ ในด้านการค้าขายไทยและเวียดนามได้มีการลงนามในข้อตกลงทางเศรษฐกิจระหว่างกัน เช่น การตั้งคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจ พิธีสารเกี่ยวกับการแก้ไขข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ข้อตกลงเกี่ยวกับเงินกู้เพื่อการค้าด้วยดอกเบี้ย ร้อยละ 3 ข้อตกลงว่าด้วยการส่งเสริมและการคุ้มครองการลงทุน ข้อตกลงว่าด้วยการหลีกเลี่ยงภาษีซ้ำซ้อน เป็นต้น
ไทยและเวียดนามมีความสัมพันธ์กันมาช้านานแล้วตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ต่อมาเวียดนามเปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองหยุดชะงักไป และเมื่อสงครามเย็นสิ้นสุดลง เวียดนามได้เปิดประเทศและผูกมิตรกับประเทศในประชาคมโลกโดยเฉพาะอาเซียน ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับเวียดนามอาจแยกเป็นด้านต่าง ๆ ได้ดังนี้
1) ด้านการเมือง ในสมัยพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นเวลาเดียวกับที่เวียดนามได้ถอนกำลังทหารออกจากกัมพูชา รัฐบาลไทยขณะนั้นได้มีการปรับและสร้างเสริมความสัมพันธ์กับ 3 ประเทศอินโดจีน ซึ่งได้แก่ ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ซึ่งถือเป็นการเปิดประตูไปสู่ประเทศอินโดจีน ด้วยนโยบายแปรสนามรบให้เป็นตลาดการค้า นับตั้งแต่นั้นมาการไปมาหาสู่ระหว่างกัน โดยเฉพาะเวียดนามก็ได้เพิ่มขึ้น ซึ่งรัฐบาลต่อมาก็ได้สืบทอดและสานต่อนโยบายดังกล่าว ด้วยการแลกเปลี่ยนการเยือนของผู้นำทั้งสองฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเยือนในระดับสูงของพระราชวงศ์ นั่นคือ การเสร็จเยือนเวียดนามของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร อันหมายถึงความสัมพันธ์อันสูงสุดของความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ
2) ด้านเศรษฐกิจ ในด้านการค้าขายไทยและเวียดนามได้มีการลงนามในข้อตกลงทางเศรษฐกิจระหว่างกัน เช่น การตั้งคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจ พิธีสารเกี่ยวกับการแก้ไขข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ข้อตกลงเกี่ยวกับเงินกู้เพื่อการค้าด้วยดอกเบี้ย ร้อยละ 3 ข้อตกลงว่าด้วยการส่งเสริมและการคุ้มครองการลงทุน ข้อตกลงว่าด้วยการหลีกเลี่ยงภาษีซ้ำซ้อน เป็นต้น
เป็นความรู้มากเลยครับ
ตอบลบขอบคุณค่ะ
ตอบลบ