"องค์การทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ"
องค์การทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ หมายถึง องค์การที่มีบทบาทและอิทธิพลในการกำหนดนโยบายทางด้านเศรษฐกิจของสังคมโลก ซึ่งองค์การเหล่านี้จะทำหน้าที่ดูแลให้ประเทศสมาชิกปฏิบัตตามกติกาของสังคมโลก อีกทั้งผลักดันให้ดำเนินนโยบายเศรษฐกิจเสรีนิยม และมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการให้เหมาะสมขณะเดียวกันส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีบทบาททางเศรษฐกิจ ตลอดทั้งมีการถ่ายโอนการผลิตไปสู่เอกชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งส่งเสริมให้ชาวต่างชาติเข้ามาลงทุนในแต่ละประเทศเพื่อให้ระบบทุนนิยมโลกขยายตัวและเป็นองค์การที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางทางการเงิน ตลอดจนอำนวยความสะดวกทางด้านการเงินระหว่างประเทศ
องค์กรและความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
สืบเนื่องจากการทำ การค้าของโลกมักจะมีปัญหายุ่งยากตามมาหลายประการ เมื่อแต่ละประเทศมุ่งแต่จะให้ปะเทศของตนรับประโยชน์จากการค้าระหว่างประเทศให้มากที่สุด บางประเทศจะสร้างเงื่อนไขต่าง ๆเพื่อกีดดันการนำ เข้าสินค้าจากต่างประเทศ เมื่อเป็นเช่นนี้ ใน พ.ศ.2491 เป็นต้นมา ประเทศส่วนใหญ่เห็นว่า ระบบการค้าควรจะมีการสร้างกฎเกณฑ์ โดยกฎเกณฑ์สากลการค้าอย่างแรกที่มีประเทศยอมรับมากที่สุดคือ ความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรการค้า (General Agreement on Tariff and Trade : GATT) หรือเรียกย่อ ๆ ว่า ความตกลงแกตต์ ซึ่งมีผลบังคับตั้งแต่ พ.ศ. 2491 จนถึงพ.ศ. 2537 และต่อมาพัฒนามาเป็นความตกลงระหว่างประเทศที่มีอยู่ภายใต้การบริหารขององค์การการค้าโลก ซึ่งมีผลตั้งแต่ พ.ศ. 2538 จนถึงปัจจุบัน สำ หรับในที่นี้จะกล่าวถึงแต่เฉพาะองค์การการค้าโลกนอกจากนี้จะกล่าวถึงกลุ่มการค้าที่มีการรวมกลุ่มกัน และเป็นกลุ่มการค้าที่มีความสำ คัญต่อเศรษฐกิจไทย อันได้แก่ สหภาพยุโรป อาเซียน และเอเปค
องค์การค้าโลก (World Trade Organization : WTO)
เป็นองค์การระหว่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในเรื่องความตกลงด้าน
การค้าและบริการ และความตกลงทางด้านการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า ความตกลงต่าง ๆขององค์การค้าโลก คือ กฎหมายที่ประเทศสมาชิกต้องปฏิบัติตาม ถ้า้ประเทศใดละเมิดผู้แทนของประเทศผู้เสียหายสามารถนำมาฟ้องร้องต่อที่ประชุมได้
องค์การค้าโลกมีกลไกลการทำ งานและหน้าที่หลัก ดังนี้
1) การบริหารจัดการให้ประเทศสมาชิกปฏิบัติตามบทบัญญัติของความตกลงต่าง ๆ กลไกส่วนนี้คือ เปิดโอกาสให้ประเทศสมาชิกมีเวทีตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ตามบทบัญญัติของความตกลงแต่ละฉบับของแระเทศสมาชิกอื่น ไม่ว่าประเทศนั้นจะเป็นประเทศเล็กหรือใหญ่ก็ตาม
2) กระบวนการยุติข้อพิพาททางการค้าระหว่างประเทศสมาชิก เมื่อประเทศสมาชิกเห็นว่าประเทศอื่นใช้มาตรการการค้าที่ขัดกับความตกลง และทำ ให้การค้าของตนเสียหาย และประจักษ์ว่า เวทีการตรวจสอบไม่มีแรงกดดันพอที่จะทำ ให้ประเทศต้นเหตุปรับมาตรการการค้าให้ถูกต้อง ก็สามารถใช้กระบวนการยุติธรรมยุติข้อพิพาท
3) การทบทวนนโยบายการค้าของประเทศสมาชิก เป็นกลไกการตรวจสอบการ
ปฏิบัติงานของประเทศสมาชิกตามความตกลง ซึ่งก็คือ กลไกทบทวนนโยบายการค้า (Trade PolicyReview Mechanism) องค์การการค้าโลกจะกำ หนดให้มีการทบทวนนโยบายของประเทศสมาชิกแต่ละประเทศล่วงหน้าโดยระบบหมุนเวียน
4) การจัดเวทีเพื่อให้มีการเจรจาเปิดเสรีการค้า การที่จะทำ ให้ทุกประเทศใช้
นโยบายการค้าที่เปิดตลาดอย่างสมบูรณ์อย่างทันทีย่อมเป็นไปไม่ได้ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการเจรจาและยกเลิกมาตรการการจำกัดการค้าเป็นระยะ ๆ
สหภาพยุโรป (European Union)
สหภาพยุโรปก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2495 โดยมีประเทศที่ก่อตั้งรวม 6 ประเทศ คือ
เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ ลักแซมเบอร์ก เยอรมันตะวันตก อิตาลี และฝรั่งเศส ร่วมกันจัดตั้งประชาคมถ่านหินและยุโรป (European Coal and Steel Community) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการผลิตและการจำ หน่ายถ่านหิน โดยยกเลิกภาษีศุลกากรและวิธีการเกี่ยวกับการขนส่งถ่านหินผ่านด่าน ต่อมาในปี พ.ศ. 2500 ได้จัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (European Economic Community: ECC) โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ 3 ประการคือ (1) การจัดตั้งตลาดร่วม (common market) เพื่อให้สินค้าธุรกิจบริการเงินทุนและแรงงาน สามารถเคลื่อนย้ายโดยเสรีระหว่างประเทศสมาชิก
(2) การกำหนดและยกเลิกภาษีศุลกากรและโควตาระหว่างประเทศสมาชิก และกำหนดให้ใช้พิกัดอัตราภาษีร่วม (common tariff) สำหรับประเทศที่มิใช่ประเทศสมาชิก (3) การกำ หนดนโยบายร่วมกัน(common policies) เรื่องการคลัง การเงิน อัตราแลกเปลี่ยน การเกษตร แรงงานสัมพันธ์โดยมีหน่วยงานสำคัญ คือ สภารัฐมนตรี คณะกรรมาธิการตลาดร่วม สภาเศรษฐกิจและสังคม และศาลสถิตยุติธรรม
หลังจากการรวบรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของสหภาพยุโรปได้ผ่านขั้นตอนต่าง ๆ
ตามลำ ดับตั้งแต่เขตการค้าเสรี สหภาพศุลกากร ตลาดร่วมหรือประชาคมเศรษฐกิจ จนในที่สุดเป็นสหภาพยุโรปนั้น มีอุปสรรคเกิดขึ้นมากมาย แต่อย่างไรก็ตาม จากความตั้งใจอันแน่วแน่ของประเทศสมาชิก ทำให้แก้ไขอุปสรรคต่าง ๆ จนสำเร็จลุล่วงได้ จนกระทั่งมีการเปลี่ยนสถานภาพจากประชาคมยุโรปมาเป็นประชาคมยุโรปตามข้อตกลงมาสทิกซ์ (Maastricht) ลงนามใน พ.ศ. 2534 0และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่พฤศจิกายน พ.ศ. 2537 สำหรับประเทศสมาชิกในปัจจุบันมี 15 ประเทศ เป็นสมาชิกก่อตั้งดั้งเดิม 6 ประเทศ และเป็นสมาชิกที่เพิ่มเติมอีก 9 ประเทศ คือ สหราชอาณาจักรไอร์แลนด์ เดนมาร์ค เข้าร่วมในพ.ศ. 2516 กรีซเข้าร่วมใน พ.ศ. 2529 สเปนและโปรตุเกสเข้าร่วมใน พ.ศ. 2529 และออสเตรีย ฟินแลนด์ และสวีเดนเข้าร่วมใน พ.ศ. 2535 นอกจากนี้ยังได้ตั้งเป้าหมายที่จะขยายประเทศสมาชิกให้ครอบคลุมถึงก่อนกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก 6 ประเทศในราว พ.ศ. 2548 อันได้แก่ โปแลนด์ ฮังการี สาธารณรัฐเชค สโลวาเนีย เอสโทเนีย และไซปรัส รวมทั้งยุโรปเหนือและยุโรปกลางในช่วงต่อไป
สหภาพยุโรปประกอบด้วย 3 สหภาพเศรษฐกิจยุโรป (European Economic
Union : EEU) สหภาพยุโรปการเงิน (European Monetary Union : EMU)
และสหภาพการเมืองยุโรป (European Political Union : EPU)ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2543 สมาชิกสหภาพยุโรป 11 ใน 15 ประเทศได้ตกลงใช้เงินตราสกุลเดียวกันคือ ECU โดยมีธนาคารกลางแห่งยุโรปดูแลรับผิดชอบบริหารนโยบายการเงินและECU จะเป็นหน่วยนับในบัญชีทุนสำ รองระหว่างประเทศ และเป็นหน่วยอ้างอิงในตลาดเงินซึ่งประเทศสมาชิกจะใช้ควบคู่กับเงินตราสกุลเดิม และค่อย ๆ ถอนเงินตราสกุลเดิมออกจากระบบ
เอเปค (Asia – Pacific Economic Cooperation : APEC)
เอเปคเป็นการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิก มีสมาชิกก่อตั้ง 12
เขตเศรษฐกิจ คือ มาเลเซีย สิงค์โปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย บรูไน แคนาดา สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ต่อมาใน พ.ศ. 2534 จีน ฮ่องกง และไต้หวัน เข้าร่วมเป็นสมาชิก ใน พ.ศ. 2536 เม็กซิโก และปาปัวนิวกินี เข้าร่วมเป็นสมาชิก ใน พ.ศ. 2537 ซิลี เข้าร่วมเป็นสมาชิก และใน พ.ศ. 2541 เวียตนาม รัสเซีย และเปรูเข้าร่วมเป็นสมาชิก
หลักการและปรัชญาพื้นฐานของเอเปค ประกอบด้วย
1) หลักฉันทามติ (Consensus) เป็นหลักที่สมาชิกจะใช้เจรจาเพื่อหาข้อยุติที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดความเห็นพ้องร่วมกัน จะไม่ใช้หลักเสียงข้างมาก
2) หลักความสมัครใจ (Voluntarism) ประเทศสมาชิกสามารถเลือกที่จะเข้าร่วมแผนงานต่าง ๆ ของเอเปคด้วยความสมัครใจ ไม่เป็นการบังคับ
3) ไม่มีข้อตกลงที่มีลักษณะบังคับ และไม่มีบทลงโทษ
4) หลักการไม่เลือกปฏิบัติ (Nondiscrimination) สมาชิกเอเปคจะไม่เลือกปฏิบัติต่อชาติที่ไม่ใช่สมาชิกเอเปค
5) หลักความสอดคล้องกับองค์การการค้าโลก (WTO - Consistency) คือ การเปิดการค้าเสรีโดยไม่ขัดกับองค์การค้าโลก
6) ความเชื่อมั่นในระบบการค้าเสรีและหลักกลไกตลาด
7) หลักผลประโยชน์ร่วมกัน สมาชิกจะช่วยเหลือซึ่งกันและกันในหลาย ๆ ด้าน เช่น ด้านการเงิน ด้านวิชาการ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นต้น
เขตการค้าเสรีอาเซียน (Asean Free Trade Area : AFTA)
เขตการค้าเสรีอาเซียนจัดตั้งขึ้นโดยสมาชิกของสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (The Association of South – east Asian Nations : ASEAN) ได้แก่ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงค์โปร์ และบรูไน และกลุ่มประเทศสมาชิกใหม่ คือ เวียตนาม ลาว พม่า และกัมพูชา ได้เริ่มดำ เนินงานมน พ.ศ. 2536 โดยมีความตกลง 2 ฉบับ มีสาระสังเขปดังนี้
1) ความตกลงแม่บทว่าด้วยการขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียนใช้
เป็นกรอบการดำ เนินการเกี่ยวกับความร่วมมือทางเศรษฐกิจต่าง ๆ
2) ความตกลงว่าด้วยอัตราภาษีที่เท่ากันสำ หรับเขตการค้าเสรีอาเซียนโดยมี
หลักการสำ คัญให้ประเทศสมาชิกลดอัตราภาษีศุลกากรลงตามลับ จนเหลือประมาณร้อยละ 0 – 5 ภายใน 10 ปี
เป็นความรู้มากเลยครับผม
ตอบลบยินดีค่ะ
ตอบลบ